วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

ความปลอดภัยในเครือข่าย

ความปลอดภัยในเครือข่าย

ในโลกแห่งอุดมคติ ผู้ใช้เครือข่ายไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครเข้ามาลักลอบใช้บัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือผู้ดูแลระบบไม่ต้องคอยตรวจจับว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการมีผู้เข้ามาก่อกวนระบบหรือทำลายข้อมูล และบริษัทที่ประกอบธุรกิจไม่ต้องติดตั้งระบบป้องกันภัย เพราะจะไม่มีผู้ลักลอบเข้ามานำข้อมูลทางการค้าที่สำคัญนำไปให้กับบริษัทคู่แข่ง แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเช่นอินเทอร์เน็ตนั้น การบุกรุก ก่อกวน ลักลอบใช้ และทำลายระบบเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของสังคมเครือข่าย และหลายต่อหลายครั้งที่เป็นกรณีใหญ่ที่สร้างความเสียหายเข้าขั้นอาชญากรรมทางเครือข่า
ไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นจำนวนเท่าใด นอกจจากจะคาดประมาณไว้ว่าน่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ราว 100 ล้านคน ใช้งานโฮลต์ที่ต่อเชื่อมอยู่ราว 10 ล้านเครื่องในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันนับแสนเครือข่าย สังคมซึ่งเป็นที่รวมของผู้คนจำนวนมากเช่นอินเทอร์เน็ตนี้ย่อมมีผู้คนส่วนหนึ่งที่เป็นนักสร้างปัญหาและก่อกวนสร้างความเสียหายให้ระบบ นับตั้งแต่มือสมัครเล่นที่ทำเพื่อความสนุกไปจนกระทั่งถึงระดับอาชญากรมืออาชีพปรัชญาความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด? คำถามนี้ดูเหมือนจะตอบโดยรวมได้ยาก เนื่องจากขอบเขตของอินเทอร์เน็ตครอบคลุมเครือข่ายจำนวนมากมาย บางเครือข่ายมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างเข็มงวดแม้มืออาชีพก็ยากที่จะบุกรุก บางเครือข่ายอาจไม่มีระบบป้องกันใด ๆ แครกเกอร์มือสมัครเล่นอาจเข้าไปสร้างความยุ่งยากได้ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้บริการข้อมูลมักทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ คำถามสำคัญต่อมาก็คือยูนิกซ์เป็นระบบที่มีความปลอดภัยเพียงใด
ยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัตการที่แรกเริ่มออกแบบขึ้นเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรข้อมูลระหว่างเครื่องโดยไม่เน้นถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จนกระทั่งเมื่อแพร่หลายออกไปสู่ภาคธุรกิจจึงได้ปรับปรุงให้มีกลไกด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่ายูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เนื่องจากธรรมชาติของระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือกึ่งเปิดที่มีให้เลือกใช้อย่างแพร่หลายย่อมจะมีช่องทางให้ค้นหาจุดอ่อนด้านความปลอดภัยได้ง่าย
หากจะขีดวงจำกัดอยู่เฉพาะในระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เพียงอย่างเดียวและแยกพิจารณาถึงยูนิกซ์เชิงการค้า เช่น โซลาริส เอไอเอ็กซ์ เอชพี-ยูเอ็กซ์ ไอริกซ์ หรืออัลทริกซ์ กับยูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ เช่น ลีนุกซ์ หรือฟรีบีเอสดี ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่ายูนิกซ์เชิงการค้ามีความปลอดภัยสูงกว่ายูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ แต่เนื่องจากรูปแบบที่มีให้บริการอย่างหลากหลายเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจึงกล่าวได้ว่าความปลอดภัยในยูนิกซ์มีจุดอ่อนให้โจมตีได้มาก การระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายจึงไม่ใช่เพียงแต่พึ่งพาขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการเท่านั้นแต่ยังต้องการ นโยบายรักษาความปลอดภัย (Security Policy) ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้งานและมาตรการดำเนินการรักษาความปลอดภัยโดยรวมทั้งระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น